สัมภาษณ์แหล่งข้อมูล

   นายสมจิตต์ ยะกุล เป็นชาวไทยวนที่อยู่บ้านต้นตาล ชาวบ้านจะเรียกว่า ปู่จิต ซึ่งเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถในการฟื้นฟู อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีชาวไทยวนตำบลต้นตาล นายสมจิตต์ ยะกุล ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านวัฒนธรรมไทยยวนมาโดยตลอดและรู้จักแพร่หลายในการเป็นผู้นำชุมชน ดังนี้ เป็นประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอเสาไห้ เป็นประธานสภาวัฒนธรรมตำบลต้นตาล เป็นวิทยากรให้ความรู้กับหน่วยงานต่างๆมากมายด้านประวัติ ภาษาไทยวนบ้านต้นตาล และการดำเนินงานจัดตั้งตลาดน้ำต้นตาล และสนับสนุนก่อตั้งการแสดงพื้นบ้านไทยวนบ้านต้นตาล ซึ่งเป็นที่รู้จักและยอมรับในจังหวัดสระบุรีและบุคคลทั่วไป ไทยวนต้องมาที่บ้านต้นตาล


Q: ไทยวนมีประวัติ ความเป็นมายังไงบัางค่ะ
คนที่สระบุรี่นี่เป็นส่วนที่อพยพมาจาก อำเภอ เชียงแสน จังหวัดเชียงราย เมื่อปี พ.ศ. 2347    สมัยเริ่มต้นรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่1 พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หลังจากสร้างกรุงเทพเสร็จ ในปี พ.ศ. 2325 พอถึง2327ก็ได้นึกขึ้นมาว่ายังมีอีกเมืองนึง คือเมืองเชียงแสน ที่พม่าครอบครองไว้ จนถึง200ปี ก็ยังเอาคืนมาไม่ได้ก็ได้มีบัญชาการ ให้ทหาร3เหล่าทัพว่าให้ไปเมืองเชียงแสนนีกลับคืนมาให้ได้. ก็สั่งเคลื่อนทัพหลวง3เหล่าทัพ ไปร่วมสมทบกับทหารของจ้าวเมืองเชียงใหม่  รวมสมทบกับทหารเจ้าเมืองลำปาง ร่วมสมทบกับทหารจ้าวเมืองน่าน  ร่วมสมทบกับทหานจ้าวเมิอง เวียงจันทร์. ไปล้อมเมืองเชียงแสนไปตีเมืองเชียงแสน แต่ปรากฎว่าไล่พม่าตีพม่าออกจากเมืองเชียงแสนไปได้ แล้วก็เผาเมือง เผาทำไมนะเหรอ เผาเพื่อไม่ให้เป็นที่ตั้งของพม่า และได้อพยพชาวเชียงแสนทั้งหมดออกมา 23,000คน. ซึ่งแบ่งออกเป็น5 ส่วน ส่วนที่ 1ให้ไปอยู่กับจ้าวนครเชียงใหม่ ส่วนที่2ให้ไปอยู่กับจ้าวเมืองลำปาง ส่วนที่3 ให้ไปอยู่กับจ้าวเมืองน่าน ส่วนที่4 ขึ้นไปอยู่กับจ้าวนครเวียงจันทร์ ส่วนที่5 ที่มาอยู่สระบุรีนี้ คือส่วนที่เดินทางเข้ามาเมืองหลวง. เพื่อมาปลูกบ้านสร้างเมืองใหม่  ก็เห็นว่าเป็นสถานที่ ทำเลเหมาะ อยู่ริมแม่น้ำป่าสักแล้วก็ไม่ห่างจากกรุงเทพมาก 160 กิโลเมตร  แล้วก็ได้โปรดเกล้าให้อยู่ในเมืองนี้. 2,300 คน ในปี 2347 จนถึงปัจจุบันนี้2558 ก็เป็นเวลา228 กว่าปี ปัจจุบันคนเชียงแสนในจังหวัดสระบุรีเนี่ย มีประมาณ 150000คน มีชาวไทยวนมากที่สุดคืออำเภอเสาไห้ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ และเรียกตัวเองว่าไทยวน   คำว่าไทยวนก็คือไทล้านนา ไทโยนกเชียงแสน ไทล้านก็คือไทยวน. ที่เรียกตัวว่าทยวน นั้นมี เอกลักษณ์อยู่3-4อย่าง ชัดเจน 1. ภาษาพูด 2.การแต่งกาย 3. อาหารการกิน 4. ประเพณีวัฒนธรรม เมื่อ4อย่างนี่รวมกันแล้วก็เลยเรียกตัวเองว่าไทยวนหรือ ไทล้านนา ไทโยนก ซึ่งมีวิถีชีวตที่อยู่แบบเรียบง่าย แบบเศรษฐกิจพอเพียง ตั้งแต่โบราณมาสู่ปัจจุบัน การทอผ้า สืบทอดมาจากจนถึงปัจจุบัน จึงทำให้เป็นสิ่งที่มีชื่อเสียง จนกลายเป็นสินค้า OTOP ประจำจังหวัดสระบุรี. 





Q: ช่วยแนะนำตัวหน่อยค่ะ

สวัสดีค่ะ ดิฉันนางสาว นิรชา สุขภิญโญ กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมที่6 โรงเรียนเสาไห้วิมลวิทยากูล จังหวัดสระบุรีค่ะ

Q: มีความเกี่ยวข้องยังไงกับวัฒนธรรมไทยวนค่ะ

ก็เริ่มตั้งแต่บรรพบุรุษของหนูค่ะ เป็นคนไทยวนค่ะได้อพยพมาจากเชียงแสนและย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่จ.สระบุรี พ่อแม่ก็เลยได้สืบเชื้อสายของคนไทยวนโดยตรงเลยค่ะ เพราะฉะนั้นพ่อกับแม่ของหนูได้ปลูกฝังให้อนุรักษ์วัฒนํรรมไทยวนและอีกอย่างนะคะ โรงเรียนของหนูยังมีชมรมวัฒนธรรมไทยวนด้วยค่ะ

Q: คุณมีส่วนในการอนุรักษ์วัฒนธรรมยังไงบ้างค่ะ

ก็คือตัวหนูเองได้อยู่ในชมรมวัฒนธรรมไทยวนด้วยค่ะและหนูได้มีโอกาสไปรำทุกๆวันอาทิตย์ที่ตลาดน้ำ ซึ่งตลาดน้ำแห่งนี้เป็นชุมชนคนไทยวนอาศัยอยู่และยังมีการขายของพื้นบ้านและการแต่งกายภาษาพูดก็เป็นภาษาไทยวนอีกด้วยค่ะ

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา 4.0 International.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น