สรุปหนังสือ3เล่ม







ชาวไทยยวนเสาไห้


ชาวไทยยวนเสาไห้เป็นกลุ่มคนใหญ่ ใน อ. เสาไห้ ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของตัวเมืองสระบุรีมาก่อน คำว่า " ไทยยวน" มีที่มาจากชาวไตกลุ่มหนึ่งนำโดยพระเจ้าสิงหนวัติกุมาร อพยพผู้คนมาสร้างเมืองในลุ่มน้ำกก (เชื่อว่าอยู่บริเวณ อ. เชียงแสน จ. เชียงรายในปัจจบัน) เรียกว่าเวียงโยนกนาคพันธุ์ และเรียกชาวเมืองนี้ว่า ชาวโยนก แล้วเพี้ยนเป็น ชาวโยนหรือไทยยวนในที่สุด


กระอพยพ โยกย้ายของชาวยวนครั้งใหญ่ เกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้นหองรือในยุค "เก็บผ้าใส่ช้า เก็บผ้าใส่เมือง" พ.ศ. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงโปรดเกล้าฯให้กรมหลวงเทพหริรักษ์และพระยายมราชยกทัพไปตีเมืองเชียงแสน แล้วกวาดผู้คนมาอยู่เชียงใหม่ ลำปาง น่าน เวียงจันทน์ ราชบุรี และสระบุรี ในสมัยนั้นตัวเมืองสระบุรีตั้งอยู่ที่ อ.เสาไห้ ชาวยวนเหล่านั้นได้ตั้งถิ่นฐานริมแม่น้ำป่าสักขึ้นมาทางตะวันออก และย้ายถิ่นฐานไปเกือบทุกตำบลใน อ. เสาไห้




แม้ว่าการเวลาที่ล่วงเลยไปเกือบ 200 ปี จะส่งผลให้ชาวไทยยวน ใช้ชีวิตกลมกลืนไปกับชาวไทยภาคกลางทั่วไปแต่ขณะเดียวกันพวกเขาก็ยังดำรงประเพณีและวัฒนธรรมอีกหลายอย่างสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อไปเยือน อ.เสาไห้ จะยินชาวบ้าน “อู้ม้วนจาหวาน” ด้วยศัพท์และสำเนียงที่ไม่ต่างไปจาก “คนเมือง” เลยแม้แต่น้อยหากไปร่วมวงกินข้าวกับชาวบ้านก็ยังจะได้ลิ้มรส แกงโฮะ แกงฮังเล หรือน้ำพริกอ่อง เหมือนกับสำรับกับข้าวในภาคเหนือทั่วๆไป รวมถึง ยังมีรูปประธรรมที่ปรากฎให้ได้เห็นอย่างชัดเจนตามวัดวา อารามต่างๆ ที่บันทึกภาพทางวัฒนธรรมไว้ในจิตรกรรมฝาผนังและสถาปัตยกรรม เช่น เจดีย์ทรงล้านนาใน
วัดฐารามและวัดจันทรบุรี ซึ่งสะท้อนให้เห็นการแต่งกายของชาวไทยยวนในสมัยต้นรัตน์โกสินทร์ ได้
ในระยะหลังราว 50-60 ปีที่ผ่านมามีความตื่นตัวทางด้านชาติพันธุ์ในหมู่ชาวไทยยวนมากขึ้น ดังมีที่การจัดตั้งชมรมชาวไทยยวนสระบุรีเพื่อสร้างความสมัครสมานสามัคคีในหมู่ชาวไทยยวน มีการฟื้นฟูวัฒนธรรมบางอย่างที่สูญหายไปตามกาลเวลา
นการจัดงานบุญสลากภัตร่วมกัน 

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น