วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2558

ไทยวน

             


    
      ไทยวน (อ่านว่า ไท-ยวน) หรือ ไตยวน (อ่านว่า ไต-ยวน) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ตระกูลภาษาไท-กะไดกลุ่มหนึ่งที่ตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือของประเทศไทยที่เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรล้านนา ในอดีตคนล้านนามีหลายกลุ่มชาติพันธุ์ แต่กลุ่มใหญ่ที่สุดคือ "ไทยวน" ซึ่งมีคำเรียกตนเองหลายอย่าง เช่น "ยวน โยน หรือ ไต(ไท)" และถึงแม้ในปัจจุบัน ชาวล้านนาจะกลายเป็นพลเมืองของประเทศไทยแล้วก็ตาม แต่ก็มักเรียกตนเองว่า "คนเมือง" ซึ่งเป็นคำเรียกที่เกิดขึ้นในภายหลัง ในยุคเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง เพื่อฟื้นฟูประชากรในล้านนาหลังสงคราม โดยการกวาดต้อนกลุ่มคนจากที่ต่างๆเข้ามายังเมืองของตน

ไทยวนหรือโยนก มีถิ่นฐานกำเนิดอยู่ที่เมืองเชียงแสน เป็นชนกลุ่มใหญ่ที่อาศัยอยู่ในอาณาจักรล้านนา มีความรุ่งเรือง ทั้งทางด้านการปกครอง ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม เมื่ออาณาจักรล้านนา เสื่อมอำนาจลง พม่าได้เข้ามามีอำนาจปกครองจนสมัยรัชกาลที่1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ดปรดเกล้าฯ ให้ล้อมตีเมืองเชียงแสน แล้วเผาทำลายบ้านเมือง เพื่อมิให้เป็นที่มั่นแก่ ข้าศึกพม่าอีกต่อไป จึงได้แบ่งชาวเมืองอพยพ ไปอยู่เมืองเวียงจันทร์ เมืองเชียงใหม่ เมืองลำปาง เมืองน่าน ที่เหลือดปรดเกล้าฯ ให้อพยพ ลงมาตั้งบ้านเรือน ที่บริเวณลุ่มน้ำป่าสัก จังหวัดสระบุรี และบางส่วนไปตั้งถิ่นฐานที่ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี






      การแต่งกายของชาวไทยวนจะนิยมนุ่งซิ่นที่ทอขึ้นเอง ซึ่งในปัจจุบันนิยมเป็นผ้าฝ้ายทอด้วยกี่ทอมือ เป็นลายแบบโบราณ ที่มีการยกมุกเป็นลวดลายดอก และมีสีสันสวยงาม ซึ่งการแต่งกาย ของสตรีชาวไทยวนในอดีต จะนุ่งผ้าซิ่นตะเข็บเดียวลายขวางลำตัว ซึ่งประกอบด้วย หัวซิ่น และตีนซิ่น นิยมใช้ผ้าสีอ่อน คล้องคอ ใช้ผ้าแถบคาดอก ปล่อยชายข้าวหนึ่งลงมา หรือห่มเฉวียงไหล่ ต่อมานิยมสวมเสื้อแขนกระบอก เสื้อแขนกุด เสื้อคอกระเช้า ห่มสไบเฉียง ไว้ผมยาวเกล้ามวย ปักปิ่นและประดับด้วยดอกไม้หอม ส่วนผู้ชายชาวไทยวน จะไว้ผมทรงมหาดไทย มีทั้งสวมเสื้อ และไม่สวมเสื้อ นุ่งผ้าเตี่ยวหรือ ผ้าต้อยสีเข้ม โดยนิยมถกชายผ้าขึ้นมาเหน็บที่เอวจนเหมือนกับกางเกงขาสั้น เรียกว่า “เค้ดหม้าม” เพื่ออวดลวดลายสักที่สวยงามบนร่างกาย แล้วใช้ผ้าพาดบ่า หรือคลุมตัว ต่อมานิยมนุ่งกางเกงแบบชาวไทใหญ่ ที่เรียกว่า " เตี่ยวสะดอ" และ "สวมเสื้อคอกลม"





    ชาวไทยวนสระบุรีมีการใช้ภาษาถิ่นที่ เป็นเอกลักษณ์ของตน คือ ภาษายวน หรือภาษาล้านนา โดยมักเรียกตัวเองว่า “คนยวน” มีความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรม โดยการอนุรักษณ์ และปลูกฝังให้ชุมชน ได้ตระหนักถึงคุณค่าของขนบธรรมเนียมประเพณี อันดีงามที่สืบทอดมาจากถิ่นฐานเดิม ให้คงอยุ่ต่อไป อาทิเช่น งานบุญสลากภัตร งานถวายปราสาทผึ้ง การเล่นดนตรี การร่ายรำ การทานขันข้าว (การตานขันข้าว/การถวายพาทาน) เพื่ออุทิศให้ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว การทำบายศรี



การแสดงต่างๆของเยาวชนที่สืบสานศิลปวัฒนธรรมไทยวน
ที่ตลาดโบราณต้าน้ำต้นตาล


ชาวไทยวน จ.สระบุรี อ.เสาไห้ มีวิถีชีวิตที่อยู่แบบเรียบง่าย  แบบเศรษฐกิจพอเพียง ตั้งแต่โบราณมาสู่ปัจจุบัน และอีกสิ่งหนึ่งที่ชาวไทยวนยังคงสืบทอดกันมาานั้นก็คือ การทอผ้า ซึ่งชาวไทยวนเรียนว่า ผ้าซิ่นลายขวาง ซึ่งผ้าทอเหล่านี้เป็ฯผ้าที่มีชื่อเสียงและได้กลายเป็น OTOP ประจำจังหวัดสระบุรีอีกด้วย




                       ปัจจุบันชาวไทยวนรุ่นใหม่ก็ยังคงอนุรักษ์สืบสานศฺิลปวัฒนธรรมไว้เช่นเคย
                         และถ้าใครสนใจหรืออยากรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาชองชาวไทยวน
                                             ก็สามารถรับชมได้ตามลิงค์ข้างล่างนี้ได้เลยค่่ะ









  







สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 4.0 International.